หน้าเว็บ

การบริหารจิตด้วยการสวดมนต์


มนุษย์นั้น ตามปกติจะมีอารมณ์กวัดแกว่งไปได้ต่าง ๆ ตั้งแต่ หงุดหงิด กลัดกลุ้ม โกรธ กังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะ อำนาจของ โลภ โกรธ หลง เป็นประจำ ถ้าจิตต้องเดือดร้อน เพราะปัญหาต่าง ๆ มาก ย่อมเสียเวลา ไม่มีกำลัง และ จะไม่เกิดสติปัญญา ในอันที่จะแก้ไข ปัญหาชีวิตได้ เท่าที่ควร...

หากได้รับการบริหารเป็นประจำ จิตจะตั้งมั่น มีความสุข มีกำลัง และเกิดสติปัญญา เราเกิดมา มีชีวิต อยู่ในโลกนี้ เพียง ชั่วคราวอายุมนุษย์เรานี้สั้นเพียงนิดเดียว หากต้องกลัดกลุ้ม หงุดหงิด กังวล เพราะ เรื่องต่าง ๆ ของโลก ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะตายย่อมเป็นชีวิตที่ขาดทุน และน่า เสียดาย เราอาจฝึกตัว เราเองให้มีความสุขได้ บางคน อาจจะหัวเราะเรา การที่จะมีความสุข ก็ต้องฝึก แต่เป็นเช่นนั้นจริง ๆ มนุษย์ไม่ค่อยรู้จักวิธีหาความสุขที่ดี การฝึก ให้มีความสงบสุข จึงเป็น ศิลปการดำรงชีวิต ที่ควร กระทำอย่างยิ่ง

การประกอบอาชีพโดยสุจริต การกล่าววาจาชอบ ไพเราะ อ่อนหวาน ถูกกาลเทศะ การไม่เบียดเบียน ผู้อื่น ความขยัน ขันแข็ง และความมีน้ำใจ ในการช่วยเหลือ ในกิจการงาน เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งเสริมสุขภาพจิต

ท่านคงจะเคยได้ทราบมาบ้างแล้วว่า คนบางคนขี้เกียจพยายามเลี่ยงงาน ไม่มีน้ำใจช่วยเหลือ ในกิจ การงาน คนชนิดนี้ ย่อมเป็นที่รังเกียจ เป็นที่ซุบซิบนินทาว่าร้ายของผู้อื่น และไม่ได้รับความเมตตา ช่วยเหลือตามสมควร อยู่ที่ไหนก็ไม่มี ใครชอบ ไม่มีความสุข ตรงข้ามกับคนที่ หนักเอาเบาสู้ เต็มใจ เข้าทำการงานต่าง ๆ ทั้งในหน้าที่ และทั้งงานของผู้อื่น ย่อมเป็นที่รักใคร่ เมตตาของคนทั้งหลาย ช่วยส่งเสริมสภาวจิตทั้งของตนเอง และของผู้อื่น ให้เป็นไปด้วยดีในทางที่จะ สำเร็จประโยชน์สูงขึ้น ความขยันจึงเป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับความสุข ความ ขี้เกียจย่อมนำความทุกข์ระทมมาให้ ต้อง พยายามไถ่ถอนใจออกจากเรื่องของตัวเองให้มากที่สุด

คนที่คิด หรือ หมกมุ่นอยู่แต่เรื่องของตนเองตลอดเวลา เช่น กลัวไม่รวย กลัวขาดทุน กลัวจะไม่สวย กลัวคนจะ ไม่รัก กลัวจะไม่มีชื่อเสียง กลัวคนจะนินทาว่าร้าย กลัวจะเป็นโรคนั้นโรคนี้ ย่อม ทำให้จิตไม่เป็นสุข และอาจจะ เกิดความ เจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นจริง ๆ ยิ่งฝึกไถ่ถอนใจออกจากเรื่อง ของตัวเอง มากเท่าใดยิ่งเบาสบาย มีความสุข และเกิดโรคน้อย ควรมองไปรอบ ๆ ตัว นึกถึงคนอื่น ที่มีเป็นหมื่นแสนเป็นล้าน ที่เขาจนกว่าเรา

ทำบุญทำทาน เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ทำให้จิตคลายความเครียด จิตที่คิดจะเอานั้นเครียด แต่จิตที่ให้ นั้น หย่อน คลายเป็นกุศลจิต มีความเบาสบาย คือ ที่เรียกว่าได้บุญ

การฝึกแผ่ความรัก หรือแผ่เมตตา คนเรานั้นปกติรักตัวเอง แต่เมตตาให้ผู้อื่นน้อย จะสังเกตเห็น ได้ง่าย ไม่มีใคร โกรธ หรือลงโทษตัวเอง เพราะมีความรักตัวเอง จึงให้อภัยตัวเองอย่างสูงสุดแล้ว แต่มักจะโกรธ และไม่ค่อยอภัย ให้ผู้อื่น เราไปที่ไหนก็ฝึกแผ่เมตตาเช่นนี้เป็นประจำ ใจของเรา จะสงบ ความหงุดหงิด และรำคาญนั้นเป็นโทสะ หรือความโกรธ อ่อน ๆ เมตตาเป็นเครื่องปราบ ความโกรธ จึงทำให้คลายความหงุดหงิดและรำคาญ

การสวดมนต์นี้ มีการเจริญแผ่เมตตารวมอยู่ด้วย มิเพียงแต่เท่านั้น ยังฝึกให้เกิดสมาธิจิต ใน พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ อันเป็นมหากุศลขั้นปราณีต ดังนั้นการสวดมนต์ภาวนา จึงเป็นการบริหาร สุขภาพจิตอย่างสูง

เพราะฉะนั้น การเจริญพระพุทธมนต์ ท่านจึงว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้จิตสงบ การเจริญนั้น มักทำใน ตอนเช้า ตอน กลางคืน ก่อนเข้านอน หรือ เวลาว่าง เพื่อทำให้เกิดสิริมงคล เป็นการฝึกทำให้จิต ตั้งมั่นอยู่ในความสงบ และมีความ มั่นคงในชีวิตประจำวัน ทำให้จิตมีความแกล้วกล้า ในการทำ ความดี เพื่อประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น และตนเอง

ขอเสนอแนะให้สาธยาย (สวด) ทุกเช้าค่ำ จักทำให้แคล้วคลาดจากภัยทั้งปวง อาทิ โจรภัย อัคคีภัย ภูตผีปีศาจ สัตว์ร้าย เป็นที่รักแห่งเทพยดา ถึงคราวอับจนก็ไม่อับจนเข็ญใจ มีสติสัมปชัญญะ ก่อนตาย และเมื่อตายย่อม บังเกิดในสุคติ โลกสวรรค์ จะไม่ตายด้วยยาพิษ นอกจากจะสิ้นอายุขัย ของตนเอง

ผู้ที่ภาวนาทุกค่ำเช้า จะได้รับความร่มเย็นเป็นสุขเห็นผลตามสมควร อนึ่งผู้ที่ทำการพิมพ์จดลอก เพื่อผู้อื่นได้สวด ก็ย่อมได้ความสุข เพราะทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมไปสู่สุคติโลกสวรรค์เช่นกันแล ฯ

โดย.. มงคล พยัคฆ์เกษม


คาถาชินบัญชร


เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ว่า ตามลำดับ ดังนี้..

- ตั้ง นะโม ๓ จบ
- สวด บทระลึกถึง และ บูชา เจ้าประคุณสมเด็จฯ
- สวด พระคาถาชินบัญชร


นะโม ๓ จบ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

( สวด ๓ จบ )


บทระลึกถึง และ บูชา เจ้าประคุณสมเด็จฯ


ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง

อัตถิ กาเย กายะญายะ

อิติปิ โส ภะคะวา

ท้าวเวสสุวัณโณ

อะระหัง สุคะโต

ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง

เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา

ยะมะราชาโน

มะระณัง สุขัง

นะโม พุทธายะ ฯ



ชินบัญชร

๑ .

ชะยาสะนาคะตา พุทธา

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง,

เชตะวา มารัง สะวาหะ นัง

เยปิวิงสุ นะราสะภา

๒ .

ตัณหังกะราทะโย พุทธา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง

อัฏฐะวีสะติ นายะกา

มัตถะเก เต มุนิสสะรา

๓ .

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง

พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน

อะเร สัพพะ คุณากะโร

๔ .

หะทะเย เม อะนุรุทโธ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง

สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โมคคัลลาโน จะ วามะเก

๕ .

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง

กัสสะโป จะ มะหานาโม

อาสุง อานันทะราหุลา

อุภาสุง วามะโสตะเก

๖ .

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง

นิสินโน สิริสัมปันโน

สุริโย วะ ปะภังกะโร

โสภิโต มุนิ ปุงคะโว

๗ .

กุมาระกัสสะโป เถโร

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง

มะเหสี จิตตะวาทะโก

ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

๘ .

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ

เถรา ปัญจะ อิเมชาตา

อุปาลี นันทะ สีวะลี

นะลาเต ติละกา มะมะ

๙ .

เสสาสีติ มะหาเถรา

เอตาสีติ มะหาเถรา

ชะลันตา สีละเตเชนะ

วิชิตา ชินะสาวะกา

ชิตะวันโต ชิโนระสา

อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

๑๐ .

ระตะนัง ปุระโต อาสิ

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ

ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

วาเม อังคุลิมาละกัง

๑๑ .

ขันธะโมระปะริตตัญจะ

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ

อาฏานาฏิยะ สุตตะ กัง

เสสา ปาการะสัณฐิตา

๑๒ .

ชินาณา วะระสัง ยุตตา

วาตะปิตตา ทิสัญชาตา

สัตตะปาการะลังกะตา

พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา

๑๓ .

อะเสสา วินะยัง ยันตุ

วะสะโต เม สะกิจเจนะ

อะนันตะชินะเตชะสา

สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร

๑๔ .

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ

สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพ

วิหะรันตัง มะฮีตะเล

เต มะหาปุริสาสะภา

๑๕ .

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต

ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ

 

( ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา. )



ตรวจตามไวยากรณ์ โดย พระศรีวิสุทธิโสภณ ( เที่ยง ป.ธ. ๙ )


หมายเหตุ ๑
อาสุง เป็นพหูพจน์ อานันทะราหุลา จึงต้องเป็นพหูพจน์ตาม ส่วนมากพิมพ์เป็น อาสุง อานันทะราหุโล ซึ่งผิด ไวยยากรณ์

หมายเหตุ ๒
เอตาสีติ - เอเต+อะสีติ เป็นโลปสนธิ คือ ลบ เอ ที่ เต ออก คงเป็น เอตะ แล้วนำไปเชื่อมกับ อะสีติ รัสสะสระ ๒ ตัว รวมกัน ต้อง ฑีฆะ คือ มีเสียงยาว จึงเป็น เอตาสีติ ดังกล่าว แปลว่า "พระมหาเถระ ๘๐ เหล่านั้น"

หมายเหตุ ๓
ชินนะ + อาณา เท่ากับ ชินาณา และ อาณา แปลว่า "อำนาจ" ส่วนมากพิมพ์เกินเป็น ชินานานา ซึ่งไม่รู้ แปลว่าอย่างไร

เพื่อความเข้าใจ ในความหมายของบทสวด แยกออกเป็น ข้อ ๆ ตามที่แยกบทไว้


๑. พระพุทธเจ้า และ พระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิต พระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อม ด้วยเสนาราชพาหนะ แล้ว เสวยอมตรส คือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น จากกิเลส และ กองทุกข์

๒. มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓. ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐาน อยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก

๔. พระอนุรุธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่ที่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะ อยู่เบื้องหลัง

๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖. มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้า และข้างหลัง

๗. พระเถระกุมาระกัสสะปะ ผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษมีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ที่ปากเป็นประจำ

๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏ เกิดเป็นกระแจะ จุณเจิมที่หน้าผาก

๙. ส่วนพระอสีติ มหาเถระที่เหลือผู้มีชัย และเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง

๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคา อยู่บนนภากาศ

๑๒. อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลาย นอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการ เป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่ง พระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เข้าอาศัย อยู่ใน พระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้ง ภายนอก และ ภายใน อันเกิดแต่ โรคร้าย คือ โรคลม และ โรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไป อย่าได้เหลือ

๑๔. ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลาง พระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาล ด้วยคุณานุภาพ แห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตราย ใด ๆ ด้วย อานุภาพแห่งพระชินนะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตราย ทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไป โดยสวัสดี เป็นนิจนิรันดร เทอญ ฯ


เทคนิคเลือกซื้อเหล็ก เกรด A 100%


วิธีซื้อเหล็กและสังเกตุเหล็กเกรด A ให้ได้ของแท้ 100 %
1. ขนาดต้องวัดได้ตรงตามสเปค ใช้หน่วยมิลลิเมตร บวก ลบ ได้ไม่เกิน 2% ขนาดและความหนาต้องเท่ากันทุกเส้น
2. มุมของเหล็กฉากหรือแป๊บ ต้องวัดได้ 90 องศา มุมฉากคม ไม่โค้ง หรือมนและไม่มีรอยต่อที่เหล็ก ส่วนท่อกลมต้องกลมวัดทแยงมุมต้องได้เท่ากันทั้งหมด ไม่เป็นวงรีหรือมีรอยแตกเชื่อมไม่สนิท
3. ความยาวเท่ากันทุกเส้น สีเหมือนกันทั้งหมด ไม่คดงอ หรือบิด ทดสอบโดยวางบนพื้นแล้วลองกลิ้งเหล็กไปมาสังเกตุได้ง่าย
4. น้ำหนักเล็กเส้นมาตรฐานทั้งข้ออ้อยเส้นกลม
ตั้งแต่ 6 มิลถึง 9 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3% ต่อเส้น
12 มิลถึง 16 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3.7% ต่อเส้น
16 มิลถึง 40 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 4.5% ต่อเส้น
เส้นหน้าตัดต้องกลม 100% ไม่ใช่กลมรีหรือมีปีกไม่เสมอกัน
ข้ออ้อยลายต้องชัดหยักเสมอกันตลอดเส้น ลายไม่ล้มช่วงใดช่วงหนึ่ง
5. น้ำหนักเหล็กรูปพรรณมาตรฐาน ในกรณีน้ำหนัก
ต่ำกว่า 10 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 4.5%
ต่ำกว่า 50 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 6.5%
ต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 9.5%
ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 10.5%
ข้อ 4 และ ข้อ 5 ในกรณีน้ำหนัก ขาดมากกว่าเปอร์เซนต์ที่กำหนด ให้เฉลี่ยรวมก่อนทุกเส้น ถ้ายังขาดมากกว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดถึง 6% ขึ้นไป ให้พิจารณาว่าได้เหล็กไม่มาตรฐานแล้ว( คือเหล็กเบา ) ถ้าเฉลี่ยผิดพลาดจากเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดแค่ 5% ให้ตรวจใบรับรองพร้อมเช็คกับโรงงานผู้ผลิตว่า ใบรับรองถูกต้อง หรือไม่ ถ้าถูกต้องอนุโลมให้ได้ตามสเปค  แต่ต้องขอใบคุมล๊อตผลิตแนบไปด้วย
6. สเปคบนเหล็กตัวพิมพ์ ต้องชัดเจน ระบุเครื่องหมายการค้า ( ยี่ห้อ ) ชัดเจน ถ้าเป็นสติ้กเกอร์ต้องขอใบกำกับภาษีของผู้ผลิตอ้างอิงกับสินค้าได้
7. สินค้ามีใบ มอก. อย่างเดียวต้องตรวจสอบโดยวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วตามมาตรฐานวิศวกรรมและ ต้องมีใบคุมล็อตด้วย สามารถตรวจได้จริงตรงกับเหล็กที่ส่งมา
8. ไม่มีสนิมหรือน้ำมันเคลือบสีอื่นใดๆ นอกจากสีธรรมชาติของเหล็ก ถ้าเป็นน้ำมันเคลือบจากโรงงานจะบางๆ สีอ่อน ไม่ดำมากเกินไป
9. เวลาจับเนื้อเหล็ก จะต้องเป็นเนื้อเดียวไม่แตกเป็นเสี้ยนเหมือนไม้ หรือหยาบเป็นเกร็ดปลา เวลาเชื่อมจุดเชื่อมต้องต่อสนิทไม่แตก แสดงถึงจุดหลอมของเหล็กที่มีคุณภาพ
10. หลังจากตรวจสอบอย่าง ละเอียดทุกข้อ แล้วควรซื้อจากร้านตัวแทนโดยตรงของบริษัทนั้นๆ ต้องสอบถามว่า ถ้าสินค้ามีปัญหา หรือสเปคไม่ตรงหรือปลอมปนเกรด B ต้องรับคืนในกรณีไม่ได้มาตรฐาน

ข้อควรระวัง

1. ห้ามใช้ความเชื่อใจ ในกรณีไม่ได้ตามสเปค เพราะถ้าสิ่งปลูกสร้างพังลงมา จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของท่าน
2. ระวังในกรณีของเหล็กเส้น จำนวนมาก จำนวนเส้นจะไม่ครบต้องตรวจสอบให้ละเอียด หรือใช้วิธีชั่งน้ำหนักและเฉลี่ยให้ใกล้เคียงที่สุด
3. เหล็กที่ไม่มาตรฐานความ แข็งแรงจะลดลงมาก หรือเหล็กจากจีนจะสังเกตุได้ไม่ยาก เพราะสีความเรียบเนียนเนื้อเหล็กต่างกันมาก เหล็กจีนไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมีการปนปลอมสินค้าไม่ได้มาตรฐานมาก

ข้ออมูลจาก http://www.ksteelcenter.com