หน้าเว็บ

คาถาชินบัญชร


เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาชินบัญชร ว่า ตามลำดับ ดังนี้..

- ตั้ง นะโม ๓ จบ
- สวด บทระลึกถึง และ บูชา เจ้าประคุณสมเด็จฯ
- สวด พระคาถาชินบัญชร


นะโม ๓ จบ


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

( สวด ๓ จบ )


บทระลึกถึง และ บูชา เจ้าประคุณสมเด็จฯ


ปุตตะกาโม ละเภ ปุตตัง

อัตถิ กาเย กายะญายะ

อิติปิ โส ภะคะวา

ท้าวเวสสุวัณโณ

อะระหัง สุคะโต

ธะนะกาโม ละเภ ธะนัง

เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา

ยะมะราชาโน

มะระณัง สุขัง

นะโม พุทธายะ ฯ



ชินบัญชร

๑ .

ชะยาสะนาคะตา พุทธา

จะตุสัจจาสะภัง ระสัง,

เชตะวา มารัง สะวาหะ นัง

เยปิวิงสุ นะราสะภา

๒ .

ตัณหังกะราทะโย พุทธา

สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง

อัฏฐะวีสะติ นายะกา

มัตถะเก เต มุนิสสะรา

๓ .

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง

สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง

พุทโธ ธัมโม ทะวิโล จะเน

อะเร สัพพะ คุณากะโร

๔ .

หะทะเย เม อะนุรุทโธ

โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง

สารีปุตโต จะ ทักขิเณ

โมคคัลลาโน จะ วามะเก

๕ .

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง

กัสสะโป จะ มะหานาโม

อาสุง อานันทะราหุลา

อุภาสุง วามะโสตะเก

๖ .

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง

นิสินโน สิริสัมปันโน

สุริโย วะ ปะภังกะโร

โสภิโต มุนิ ปุงคะโว

๗ .

กุมาระกัสสะโป เถโร

โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง

มะเหสี จิตตะวาทะโก

ปะติฏฐาสิ คุณากะโร

๘ .

ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ

เถรา ปัญจะ อิเมชาตา

อุปาลี นันทะ สีวะลี

นะลาเต ติละกา มะมะ

๙ .

เสสาสีติ มะหาเถรา

เอตาสีติ มะหาเถรา

ชะลันตา สีละเตเชนะ

วิชิตา ชินะสาวะกา

ชิตะวันโต ชิโนระสา

อังคะมังเคสุ สัณฐิตา

๑๐ .

ระตะนัง ปุระโต อาสิ

ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ

ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง

วาเม อังคุลิมาละกัง

๑๑ .

ขันธะโมระปะริตตัญจะ

อากาเส ฉะทะนัง อาสิ

อาฏานาฏิยะ สุตตะ กัง

เสสา ปาการะสัณฐิตา

๑๒ .

ชินาณา วะระสัง ยุตตา

วาตะปิตตา ทิสัญชาตา

สัตตะปาการะลังกะตา

พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา

๑๓ .

อะเสสา วินะยัง ยันตุ

วะสะโต เม สะกิจเจนะ

อะนันตะชินะเตชะสา

สะทา สัมพุทธะ ปัญชะเร

๑๔ .

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ

สะทาปาเลนตุ มัง สัพเพ

วิหะรันตัง มะฮีตะเล

เต มะหาปุริสาสะภา

๑๕ .

อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข

ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโฆ

สัทธัมมานุภาวะปาลิโต

ชินานุภาเวนะ ชิตูปัททะโว

สังฆานุภาเวนะ ชิตันตะราโย

จะรามิ ชินะปัญชะเรติ ฯ

 

( ชินะปัญชะระคาถา นิฏฐิตา. )



ตรวจตามไวยากรณ์ โดย พระศรีวิสุทธิโสภณ ( เที่ยง ป.ธ. ๙ )


หมายเหตุ ๑
อาสุง เป็นพหูพจน์ อานันทะราหุลา จึงต้องเป็นพหูพจน์ตาม ส่วนมากพิมพ์เป็น อาสุง อานันทะราหุโล ซึ่งผิด ไวยยากรณ์

หมายเหตุ ๒
เอตาสีติ - เอเต+อะสีติ เป็นโลปสนธิ คือ ลบ เอ ที่ เต ออก คงเป็น เอตะ แล้วนำไปเชื่อมกับ อะสีติ รัสสะสระ ๒ ตัว รวมกัน ต้อง ฑีฆะ คือ มีเสียงยาว จึงเป็น เอตาสีติ ดังกล่าว แปลว่า "พระมหาเถระ ๘๐ เหล่านั้น"

หมายเหตุ ๓
ชินนะ + อาณา เท่ากับ ชินาณา และ อาณา แปลว่า "อำนาจ" ส่วนมากพิมพ์เกินเป็น ชินานานา ซึ่งไม่รู้ แปลว่าอย่างไร

เพื่อความเข้าใจ ในความหมายของบทสวด แยกออกเป็น ข้อ ๆ ตามที่แยกบทไว้


๑. พระพุทธเจ้า และ พระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิต พระยามาราธิราช ผู้พรั่งพร้อม ด้วยเสนาราชพาหนะ แล้ว เสวยอมตรส คือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้น จากกิเลส และ กองทุกข์

๒. มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกร เป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

๓. ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐาน อยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณ อยู่ที่อก

๔. พระอนุรุธะอยู่ที่ใจ พระสารีบุตรอยู่ที่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณฑัญญะ อยู่เบื้องหลัง

๕. พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

๖. มุนีผู้ประเสริฐ คือ พระโสภิตะผู้สมบูรณ์ ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้า และข้างหลัง

๗. พระเถระกุมาระกัสสะปะ ผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษมีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ที่ปากเป็นประจำ

๘. พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏ เกิดเป็นกระแจะ จุณเจิมที่หน้าผาก

๙. ส่วนพระอสีติ มหาเถระที่เหลือผู้มีชัย และเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ ล้วนรุ่งเรืองไพโรจน์ ด้วยเดชแห่งศีล ให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

๑๐. พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้า พระเมตตสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตร อยู่เบื้องหลัง

๑๑. พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคา อยู่บนนภากาศ

๑๒. อนึ่ง พระชินเจ้าทั้งหลาย นอกที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง คือ สัตตะปราการ เป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

๑๓. ด้วยเดชานุภาพแห่ง พระอนันตชินเจ้า ไม่ว่าจะทำกิจการใด ๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้า เข้าอาศัย อยู่ใน พระบัญชร แวดวงกรงล้อมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้ง ภายนอก และ ภายใน อันเกิดแต่ โรคร้าย คือ โรคลม และ โรคดี เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน จงกำจัดให้พินาศไป อย่าได้เหลือ

๑๔. ขอพระมหาบุรุษ ผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลาง พระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดี ฉะนี้แล

๑๕. ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาล ด้วยคุณานุภาพ แห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวันตราย ใด ๆ ด้วย อานุภาพแห่งพระชินนะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตราย ทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไป โดยสวัสดี เป็นนิจนิรันดร เทอญ ฯ