วิธีซื้อเหล็กและสังเกตุเหล็กเกรด
A ให้ได้ของแท้ 100 %
1. ขนาดต้องวัดได้ตรงตามสเปค ใช้หน่วยมิลลิเมตร บวก ลบ ได้ไม่เกิน 2%
ขนาดและความหนาต้องเท่ากันทุกเส้น
2. มุมของเหล็กฉากหรือแป๊บ ต้องวัดได้ 90 องศา มุมฉากคม
ไม่โค้ง หรือมนและไม่มีรอยต่อที่เหล็ก
ส่วนท่อกลมต้องกลมวัดทแยงมุมต้องได้เท่ากันทั้งหมด
ไม่เป็นวงรีหรือมีรอยแตกเชื่อมไม่สนิท
3. ความยาวเท่ากันทุกเส้น สีเหมือนกันทั้งหมด ไม่คดงอ หรือบิด
ทดสอบโดยวางบนพื้นแล้วลองกลิ้งเหล็กไปมาสังเกตุได้ง่าย
4. น้ำหนักเล็กเส้นมาตรฐานทั้งข้ออ้อยเส้นกลม
ตั้งแต่ 6 มิลถึง 9 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3% ต่อเส้น
12 มิลถึง 16 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3.7% ต่อเส้น
16 มิลถึง 40 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 4.5% ต่อเส้น
เส้นหน้าตัดต้องกลม 100% ไม่ใช่กลมรีหรือมีปีกไม่เสมอกัน
ข้ออ้อยลายต้องชัดหยักเสมอกันตลอดเส้น ลายไม่ล้มช่วงใดช่วงหนึ่ง
12 มิลถึง 16 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 3.7% ต่อเส้น
16 มิลถึง 40 มิล น้ำหนัก บวก ลบ ไม่เกิน 4.5% ต่อเส้น
เส้นหน้าตัดต้องกลม 100% ไม่ใช่กลมรีหรือมีปีกไม่เสมอกัน
ข้ออ้อยลายต้องชัดหยักเสมอกันตลอดเส้น ลายไม่ล้มช่วงใดช่วงหนึ่ง
5. น้ำหนักเหล็กรูปพรรณมาตรฐาน ในกรณีน้ำหนัก
ต่ำกว่า 10 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 4.5%
ต่ำกว่า 50 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 6.5%
ต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 9.5%
ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 10.5%
ข้อ 4 และ ข้อ 5 ในกรณีน้ำหนัก ขาดมากกว่าเปอร์เซนต์ที่กำหนด ให้เฉลี่ยรวมก่อนทุกเส้น ถ้ายังขาดมากกว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดถึง 6% ขึ้นไป ให้พิจารณาว่าได้เหล็กไม่มาตรฐานแล้ว( คือเหล็กเบา ) ถ้าเฉลี่ยผิดพลาดจากเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดแค่ 5% ให้ตรวจใบรับรองพร้อมเช็คกับโรงงานผู้ผลิตว่า ใบรับรองถูกต้อง หรือไม่ ถ้าถูกต้องอนุโลมให้ได้ตามสเปค แต่ต้องขอใบคุมล๊อตผลิตแนบไปด้วย
ต่ำกว่า 50 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 6.5%
ต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 9.5%
ต่ำกว่า 300 กิโลกรัมต่อเส้น น้ำหนักต่อเส้น บวก ลบ ไม่เกิน 10.5%
ข้อ 4 และ ข้อ 5 ในกรณีน้ำหนัก ขาดมากกว่าเปอร์เซนต์ที่กำหนด ให้เฉลี่ยรวมก่อนทุกเส้น ถ้ายังขาดมากกว่าเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดถึง 6% ขึ้นไป ให้พิจารณาว่าได้เหล็กไม่มาตรฐานแล้ว( คือเหล็กเบา ) ถ้าเฉลี่ยผิดพลาดจากเปอร์เซ็นต์ที่กำหนดแค่ 5% ให้ตรวจใบรับรองพร้อมเช็คกับโรงงานผู้ผลิตว่า ใบรับรองถูกต้อง หรือไม่ ถ้าถูกต้องอนุโลมให้ได้ตามสเปค แต่ต้องขอใบคุมล๊อตผลิตแนบไปด้วย
6. สเปคบนเหล็กตัวพิมพ์ ต้องชัดเจน ระบุเครื่องหมายการค้า ( ยี่ห้อ ) ชัดเจน
ถ้าเป็นสติ้กเกอร์ต้องขอใบกำกับภาษีของผู้ผลิตอ้างอิงกับสินค้าได้
7. สินค้ามีใบ มอก.
อย่างเดียวต้องตรวจสอบโดยวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วตามมาตรฐานวิศวกรรมและ
ต้องมีใบคุมล็อตด้วย สามารถตรวจได้จริงตรงกับเหล็กที่ส่งมา
8. ไม่มีสนิมหรือน้ำมันเคลือบสีอื่นใดๆ นอกจากสีธรรมชาติของเหล็ก
ถ้าเป็นน้ำมันเคลือบจากโรงงานจะบางๆ สีอ่อน ไม่ดำมากเกินไป
9. เวลาจับเนื้อเหล็ก จะต้องเป็นเนื้อเดียวไม่แตกเป็นเสี้ยนเหมือนไม้
หรือหยาบเป็นเกร็ดปลา เวลาเชื่อมจุดเชื่อมต้องต่อสนิทไม่แตก
แสดงถึงจุดหลอมของเหล็กที่มีคุณภาพ
10. หลังจากตรวจสอบอย่าง ละเอียดทุกข้อ
แล้วควรซื้อจากร้านตัวแทนโดยตรงของบริษัทนั้นๆ ต้องสอบถามว่า ถ้าสินค้ามีปัญหา
หรือสเปคไม่ตรงหรือปลอมปนเกรด B ต้องรับคืนในกรณีไม่ได้มาตรฐาน
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ความเชื่อใจ ในกรณีไม่ได้ตามสเปค เพราะถ้าสิ่งปลูกสร้างพังลงมา จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของท่าน
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ความเชื่อใจ ในกรณีไม่ได้ตามสเปค เพราะถ้าสิ่งปลูกสร้างพังลงมา จะเกิดความเสียหายต่อชีวิต และทรัพย์สินของท่าน
2. ระวังในกรณีของเหล็กเส้น จำนวนมาก จำนวนเส้นจะไม่ครบต้องตรวจสอบให้ละเอียด
หรือใช้วิธีชั่งน้ำหนักและเฉลี่ยให้ใกล้เคียงที่สุด
3. เหล็กที่ไม่มาตรฐานความ แข็งแรงจะลดลงมาก
หรือเหล็กจากจีนจะสังเกตุได้ไม่ยาก เพราะสีความเรียบเนียนเนื้อเหล็กต่างกันมาก
เหล็กจีนไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมีการปนปลอมสินค้าไม่ได้มาตรฐานมาก
ข้ออมูลจาก http://www.ksteelcenter.com