หน้าเว็บ

คำศัพท์เกี่ยวกับเครน

Over Head Crane คือ เครนเหนือศรีษะ

Gantry Crane คือ เครนแบบมีขา

Semi Gantry Crane คือ เครนแบบกึ่งเหนือศรีษะและเครนแบบมีขา 

Jib Crane คือ เครนแบบมีแขน หมุนได้รอบตัวเสา 

Mobile Crane คือ เครนที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ 

Tower Crane คือ เครนที่ใช้สำหรับงานก่อสร้างที่สูงมากๆ มีแขนที่ยาวและสามารถหมุนได้  
                           รอบตัวเอง

Mono Rail คือ รางสำหรับ Trolley ของรอก

Capacity คือ ความสามารถในการบรรทุก Load มีหน่วยเป็น กิโลกรัม หรือ ตัน

Load คือ น้ำหนักที่บรรทุก

Span คือ ระยะความกว้างของเครน จาก ศูนย์กลาง Runway ด้านหนึ่ง ถึงอีกด้านหนึ่ง  

Rail คือ รางเครน

Runway คือ รางวิ่งสำหรับเครน

Runway Length คือ ระยะความยาวของ รางเครน  

Traveling คือ การเคลื่อนที่ ตามยาวของเครน

Traversing คือ การเคลื่อนที่ ตามกว้างของเครน

Lifting Height คือ ระยะยกสูงสุดของเครน วัดจากพื้นถึงความสูงตะขอ (Hook) 

Girder คือ คานหลัก
Beam คือ คานรอง

Box Girder คือ คานแบบกล่องประกอบ  
  
Single Girder คือ คานเดี่ยว 

Doubel Girder คือ คานคู่

Trolley คือ ล้อวิ่งของรอก 

End Carriage คือล้อวิ่งของ Crane ที่วิ่งบน Runway  

Hoist คือ รอก 

Hook คือ ตะขอสำหรับแขวนหรือยก 

Manual Chain Hoist คือ รอกมือสาว

Electric Chain Hoist คือ รอกโซ่ไฟฟ้า

Electric Wire Rope Hoist คือ รอกสลิงไฟฟ้า  

Push Buton Switch คือ สวิตซ์แบบปุมกด 

Remote Switch คือ สวิตซ์แบบรีโมท

Gear Motor คือ มอเตอร์ขับเครนตามยาวจะติดอยู่กับ End Carriage 

Control Box คือ กล่องใส่แผงวงจรควบคุมไฟฟ้าเครน 

Direction Plate คือ แผ่นป้ายบอกทิศทาง 





 

โอเวอร์เฮดเครน


โอเวอร์เฮดเครนคือ โครงสร้างที่รวมกับรอกมีการวิ่งของคานในแนวนอนไปตามรางทั้งสองข้างที่แยกออกจากกันมีความกว้าง ที่เรียกว่า SPAN  มักจะติดตั้งในอาคารโรงงาน มีส่วนประกอบหลักของเครนดังนี้ 
     A.รอกแบบไฟฟ้า หรือ เมนวล ที่วิ่งบนคานหรือใต้คานได้
     B.คานที่ให้รอกวิ่งบนคานหรือใต้คานได้ มีคานเดี่ยวและคานคู่แยกเป็นแบบวิ่งบนราง(TOP RUNING) และวิ่งใต้ราง(UNDER RUNNING) โดยคานเดี่ยวสามารถรับน้ำหนักได้จาก 125 กิโลกรัม ถึง 20000 กิโลกรัมและ  125 กิโลกรัม ถึง 10000 กิโลกรัมสำหรับเครนแบบวิ่งใต้คาน ส่วนแบบคานคู่สามารถ รับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 500 กิโลกรัม ถึง 1,000,000 กิโลกรัมหรือเรียกว่า1000 ตัน ตัวคานสร้างขึ้นจากเหล็กรูปพรรณต่างๆ มีรูปแบบหลายแบบ เช่น รูปเอชบีม H-Beam Girder หรือไอบีม  I-Beam Girder และ 
กล่อง ( Box Girder )
     C.Endcarriage Saddle หรือ End Truck ภาษาไทยไม่รู้เรียกว่าอะไร เพราะไม่มีใครบัญญัติคำศัพท์ไว้ ส่วนตัวผมเรียกมันว่า อานเครน  หวังว่าคงจะมีคนเอาไปใช้นะครับ มีทั้งแบบมอเตอร์ไฟฟ้าและแบบไม่มีแยกออกเป็นแบบวิ่งบนราง (TOP RUNING) และใต้ราง (UNDER RUNNING)
    D. Runway เป็นรางเครนมีแบบสำหรับเครนวิ่งบนราง และ วิ่งใต้ราง แบบวิ่งบนจะใช้เหล็กรางรถไฟRAIL เป็นรางหรือ เหล็กสี่เหลี่ยมตัน SQARE BAR ยึดเข้ากับตัวคานรองรับที่อาจจะเป็นเหล็ เอชบีม ไอบีม หรือ ฺเหล้กกล่องประกอบ เป็นต้น

 

จากรูปด้านบน คือ โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยว วิ่งบนราง 
มาดูส่วนประกอบเครนกันจากรูปด้านบน
1.คือรอกไฟฟ้า (electric Hoist) ในรูปเป็นรอกสลิงแบบวิ่งใต้คาน 
2.คาน (Girder) เป็นคานเดี่ยวแบบกล่องประกอบ  BOX GIRDER 
3.จากรูปมันเป็นเลข 4 อุปกรณ์ที่เป็นสีส้ม คือ อาน (End carriage หรือ End Truck )
4.เป็นเกียร์มอเตอร์สำหรับขับล้อที่อยู่กับอาน(End carriage)
5.เหมือนข้อ 4.
6.สวิตซ์กด ( Buton Switch )มีแบบ ยึดสายไฟ Pendant กับ รีโมท remote control 
7.Control Box
8.Stoper 
9.เหมือนข้อ 8.
10.รางสำหรับสายไฟ 
11.สายไฟสำหรับรอกไฟฟ้า
12.สายไฟสำหรับส่งไปที่ปุ่มกด

รวมรูปโอเวอร์เฮดเครนแบบต่างๆ
1.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานคู่วิ่งบนราง


2.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยววิ่งล่าง

3.โอเวอร์เฮดเครนแบบคานเดี่ยววิ่งบน


ขอบคุณรูปภาพจาก



การตรวจความปลอดภัยของเครนในโรงงาน



     ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หรือ เครน (Crane) เป็นเครื่องจักรที่ใช้ใน การขนถ่ายหรือขนย้ายสินค้าและวัสดุที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม, คลังสินค้า และสถานประกอบการต่างๆอย่างแพร่หลาย เครื่องจักร ดังกล่าวถือเป็น “เครื่องจักรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้สูง” กระทรวงมหาดไทยจึงได้ออกประกาศเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เกี่ยวกับปั้นจั่น ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งประกาศดังกล่าวถือเป็นกฏ หมายที่บังคับใช้มามากกว่า 20 ปี และต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกระทรวง แรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น ประกาศดังกล่าวก็ยังคงมีผลบังคับใช้ อยู่เพียงแต่เปลี่ยนมากำกับดูแลโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม แทนกรมแรงงาน กระทรวง มหาดไทย ในอดีตนั้นเอง

           ผู้ประกอบการและนายจ้างควรตระหนักถึงความรับผิดชอบและ หน้าที่ตามประกาศฉบับนี้เพราะแนวโน้มการใช้ปั้นจั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรงงานอุตสาหกรรมมีค่อนข้างสูง และมีสถิติอุบัติเหตุจากการทำงาน เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย ทำให้มีผู้เสียชีวิต พิการ และบาดเจ็บจำนวนมาก โดยมีสาเหตุมาจากการไม่ตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้ปั้นจั่นตาม ช่วงระยะเวลาที่กำหนด ขาดการตรวจสอบก่อนใช้งานการติดตั้งปั้นจั่น ไม่เหมาะสม การติดตั้งไม่มั่นคงแข็งแรง โดยเฉพาะหัวหน้างานขาดการ ควบคุมดูแลให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและพนักงานขับเครนขาดความรู้ความ เข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ ปั้นจั่น ผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นอย่างเคร่งครัด

           กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของ ปั้นจั่นทุกๆ สามเดือน ตามแบบซึ่งกำหนดไว้ อย่างไรก็ตามวิศวกรผู้ตรวจ สอบและผู้ที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับปั้นจั่นควรมีความรู้และเข้าใจถึงการ ออกแบบและข้อกำหนดต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการตรวจ ความปลอดภัยของปั้นจั่นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งในบทความนี้ขอนำเสนอ เฉพาะจุดที่สำคัญๆและควรตรวจสอบทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของ ปั้นจั่นและเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้นำไปพิจารณาประกอบการตรวจสอบ ต่อไป

นิยามศัพท์ กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นได้ กำหนดว่า ปั้นจั่น (Cranes หรือ Derricks ) หมายความว่า เครื่องจักรกล ที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ แขวนลอยไปตามแนวราบ ซึ่งปั้นจั่นตามข้อกำหนดนี้มีสองชนิดคือ
1) ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ และ เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนขาตั้งล้อเลื่อน รางเลื่อน หรือหอสูง การใช้งาน จะถูกจำกัดตามระยะที่ขาตั้งหรือล้อเลื่อนจะเคลื่อนที่ไปได้ ปั้นจั่นชนิด อยู่กับที่นี้จะมีใช้มากในโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ และการก่อสร้าง อาคารสูง

รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที       รูปแสดงลักษณะของปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่
2) ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ หมายถึง ปั้นจั่นที่อุปกรณ์ต่างๆ และ เครื่องต้นกำลังติดตั้งอยู่บนยานพาหนะที่ขับเคลื่อนในตัวเอง เช่น รถบรรทุก หรือรถตีนตะขาบ สามารถเคลื่อนที่ไปทำงานที่บริเวณอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว

           ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการตรวจความปลอดภัยเฉพาะปั้นจั่นชนิดอยู่ กับที่หรือที่เรียกว่าเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane) เท่านั้น เครน สำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุถือเป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและ ถูกเลือกใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากความง่ายใน การใช้งาน คุ้มประโยชน์ต่อการลงทุน มีอายุการใช้งานนานและการบำรุง รักษาไม่ยุ่งยากมากนัก

          เครนในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด อาทิเช่น เครนคานเดี่ยว (single girder crane), เครนคานคู่ (double girder crane), เครนขาหยั่ง (gantry crane) และเครนแขนยื่น (Jib crane) ซึ่งมีขนาดหรือความสามารถในการยกน้ำหนักได้แตกต่างกันไป ตามลักษณะความต้องการในการใช้งานมีขนาดตั้งแต่ไม่ถึงหนึ่งตันไป จนถึงเป็นร้อยๆ ตัน


        
                             รูปแสดง เครนคานเดี่ยว                    รูปแสดง เครนคานคู่



รอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่ มีคำถามอยู่เสมอว่ารอกไฟฟ้าถือเป็นปั้นจั่นหรือไม่และต้องมีการ ตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายที่กำหนดหรือไม่ ก่อนอื่นควรทำความ รู้จักกับรอกไฟฟ้า (Hoist) ก่อนว่าเป็นอย่างไร

รอกไฟฟ้า (Hoist)
 หมายถึงเครื่องจักรกลที่ใช้ยกสิ่งของขึ้นลงตาม แนวดิ่งเท่านั้น อาจใช้โซ่หรือลวดสลิงสำหรับยก ต้นกำลังของรอกนี้อาจใช้ เป็นไฟฟ้า ลม หรือใช้มือสาวขึ้นลงก็ได้

           เมื่อพิจารณาตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้วหาก รอกที่ใช้แขวน อยู่กับที่เพื่อยกสิ่งของขึ้นและลงในแนวดิ่งโดยไม่มีการเคลื่อนย้ายสิ่งของใน ลักษณะแขวนลอยไปตามแนวราบแล้วจะไม่ถือเป็นปั้นจั่นแต่ส่วนใหญ่ ในการใช้งานของรอกไฟฟ้านั้น รอกไฟฟ้าจะใช้ประกอบกับรางเพื่อ เคลื่อนย้ายสิ่งของไปในแนวระนาบด้วยเสมอ เช่นรอกไฟฟ้าบนรางเดี่ยว (monorail hoist) ที่มีใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไปหากมีลักษณะที่ใช้ ยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่งและมีการเคลื่อนย้ายสิ่งของเหล่านั้นในลักษณะ แขวนลอยไปตามแนวราบแล้วก็ถือเป็นปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดหนึ่ง ซึ่งต้อง มีการตรวจความปลอดภัยตามกฏหมายด้วย



รูปแสดงลักษณะรอกไฟฟ้าแบบใช้โซ่และแบบใช้ลวดสลิง
ลักษณะของเครนเหนือศรีษะ (Overhead Crane) ปั้นจั่นหรือเครนเหนือศีรษะโดยทั่วไป ประกอบด้วยโครงสร้างและ อุปกรณ์ในการยกที่เรียกว่ารอกไฟฟ้า (hoist) อาจเป็นโซ่หรือลวดสลิงก็ได้ และมีชุดขับเคลื่อนทั้งชุดเดินยาวและชุดเดินขวางประกอบเข้ากับ โครงสร้างของเครน อุปกรณ์และส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆ มีดังภาพ ประกอบ


รูปแสดงส่วนประกอบต่างๆของเครนเหนือศีรษะ
การเลือกเครนเหนือศรีษะ(Overhead Crane) สำหรับใช้งาน เครนและรอกไฟฟ้าจะมีมาตรฐานในการออกแบบเพื่อการใช้งานที่ แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนใหญ่สามารถอ้างอิงถึงมาตรฐานการใช้งานของ ยุโรป (FEM) หรืออเมริกา (ISO) ได้ ซึ่งมาตราฐานทั้งสองนี้สามารถเทียบ เคียงกันได้ มาตราฐานนี้มีการพัฒนาโดยองค์กรกลางในการกำหนดค่า ความปลอดภัยต่างๆสำหรับการใช้งานและการออกแบบชิ้นส่วนไว้โดยละเอียด ทั้งนี้เพราะในยุโรปมีการผลิตรอกไฟฟ้ามาอย่างยาวนานและให้ ความสำคัญอย่างมากในเรื่องความปลอดภัย มาตรฐานเหล่านี้จึงให้ความ สำคัญกับทั้งการใช้งานและการออกแบบที่สอดคล้องกัน เครนและรอก ไฟฟ้าที่จะสามารถใช้งานได้ในยุโรปต้องออกแบบตามมาตราฐานที่เรียกว่า “FEM” (ย่อมาจาก European Federation of Materials Handling ; www.fem-eur.com) เท่านั้น มาตรฐานนี้มีส่วนหนึ่งซึ่งกำหนดอายุการใช้ งานที่ปลอดภัยของเครื่องจักรเอาไว้ โดยอายุของเครื่องจักรจะถูกกำหนด ขึ้นตามลักษณะในการใช้งานต่างๆเป็นสำคัญ โดยทั่วไปมีการจำแนก สภาวะการใช้งาน (Load Spectrum) ของเครนและรอกไฟฟ้าไว้ 4 ประเภท คือ
1) การใช้งานเบา (Light) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับ งานเบาๆ หรือมีความถี่ในการใช้งานไม่มากนัก
2) การใช้ปานกลาง (Medium) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ สำหรับงานในระดับปานกลางหรือมีความถี่ในการใช้งานปานกลาง
3) การใช้งานหนัก (Heavy) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบเพื่อใช้ สำหรับงานหนักหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลังตลอดเวลาและมี ความถี่ในการใช้งานมาก
4) การใช้งานหนักมาก (Very Heavy) คืออุปกรณ์ที่ออกแบบ เพื่อใช้สำหรับงานหนักมากหรือใช้งานในลักษณะเต็มอัตรากำลัง ตลอดเวลาและมีความถี่ในการใช้งานสูงต่อเนื่องตลอดเวลา



รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ
          โดยตามมาตรฐานหมายเลข FEM 9.511 และ มาตราฐาน ISO ได้กำหนดอายุการใช้งานของรอกไฟฟ้าและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นที่ใช้กับเครน ไว้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้


รูปแสดงผังการการเลือกใช้งานของเครนในกลุ่มต่างๆ
          จากมาตรฐานและการออกแบบดังกล่าวเครนและรอกไฟฟ้าจึงถูก กำหนดให้มีการออกแบบอายุที่สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย (Safe Working Period) หรือเรียกโดยย่อว่า “S.W.P” ไว้ด้วย
                          ข้อมูลโดย คุณชาตรี ปรีชาชีววัฒน์ บริษัท เอ็ม.เอช.อี.-ดีแมก (ที) จำกัด

ชนิดและความหมายของสายไฟฟ้าแต่ละชนิด

 

NYY Power Wires And Cables   

เป็นสายส่งกำลังไฟฟ้าชนิดแข็งมีฉนวนพีวีซี 3 ชั้น เหมาะกับการใช้ฝังดิน


 

VCT Flexible Wire And Cable

 เป็นสายส่งกำลังไฟฟ้าชนิดอ่อนมีฉนวนพีวีซี  2 ชั้น เหมาะกับงานภายนอกอาคารหรือร้อยท่อพีวีซีเพื่อฝังดิน

 
THW Building Wire And Cables 

เป็นสายส่งกำลังไฟฟ้าชนิดกลมแกนเดี่ยว มีฉนวนพีวีซี 1 ชั้น เหมาะกับงานเดินสายภายในอาคาร ร้อยในท่อพีวีซี

 

VAF  Housing Wire 

เป็นสายส่งกำลังไฟฟ้าชนิดยแบนแกนคู่หุ้มด้วยฉนวน พีวีซี 2 ชั้น เหมาะสำหรับเดินสายตามผนังบ้านโดยการตีกิ๊บยึดกับผนังบ้าน


VSF Housing Wire 

เป็นสายส่งกำลังไฟฟ้าชนิดกลมแกนฝอยหุ้มด้วยฉนวน พีวีซี 1 ชั้น เหมาะสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปหรือระบบควบคุมในโรงงาน


My Printer and Ploter

BROTHER A3 - MULTIFUNCTION :PRINT ,SCAN ,FAX ,PHOTOCAPTURE  
เป็นเครื่องที่ 3 ที่ผมใช้การทำแบบก่อสร้างและรายการคำนวณต่างๆเป็นอะไรที่ดีพอสมควรเพราะเครื่องเดียวจบทุกอย่าง ตัวนี้ราคาค่าตัว 15,xxx บาท ไม่ต่ออิ้งค์แทงค์แน่นอนครับรอบนี้เพราะเข็ดหลาบแล้วจาก CANNON ที่อยู่ด้วยกันเพียงแค่ปีเดียวก็มาลาจากกันดื้อๆ

 
CANNON IX4000 A3 - PRINTER   
เป็นเครื่องที่ 2 ที่ผมใช้การทำแบบก่อสร้างเครื่องนี้มีปัญญามากวิ่งเข้าตึกคอมเป็นว่าเล่น เพราะติดตั้งอิ้งค์แทงค์ตั้งแต่วันแรกที่ซื้อ ยอมหมดประกันเพื่อประหยัดค่าหมึก แต่ไม่เป็นเช่นนั้น ตอนนี้พังเป็นที่เรียบร้อย
 HP 1280 A3 - PRINTER   
เป็นเครื่องแรกที่ใช้ทำแบบก่อสร้างเครื่องนี้ยังใช้การได้ดี แต่มีข้อเสียคือตลับหมึกราคาแพงแต่ทนทานดี  เนื่องจากซื้อมาใช้หลายปีแล้วเวลาปริ้นงานด่วนช้าและมักเสียเวลาเป็นครึ่งวัน  ตอนนี้เก็บเป็นแสปร์ ใช้บ้างเป็นบางครั้งป้องกันหมึกตัน และแอบไปคบกับเจ้า brother แล้วครับ

โปรแกรมเขียนแบบทั่วไป


โปรแกรมเขียนแบบเรามักจะคุ้นเคยกับโปรแกรม ออโต้แคด แต่จริงการเขียนแบบสองมิตินั้นมีหลายโปรแกรมด้วยกันมีทั้งของไทยและเทศ แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้ของ Autodesk Autocad แต่มักมีราคาค่อนข้างแพงปัจจุบันก็เลยมีโปรแกรมเขียนแบบราคาถูกมาตีตลาดเพิ่มมากขึ้นทั้งของจีน ไทย และของต่างประเทศอื่นๆ ซึ่งมีดังนี้
1. Autocad LT จาก Autodesk เป็นโปรแกรมเขียนแบบ2มิติจากอเมริกาเป็นโปรแกรมตัดความสามารถด้าน3มิติออกไป  มีราคาโดยประมาณ 50,000 บาท
2. Autocad  จาก Autodesk เป็นโปรแกรมเขียนแบบ2มิติและ3มิติจากอเมริกาเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถสูงมีเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนมากมาย มีราคาโดยประมาณ 170,000 บาท
3.ZWcad  จาก Xianjin Trading  เป็นโปรแกรมเขียนแบบ2มิติและ3มิติจากจีนเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถใกล้เคียงกับ AutoCad แต่มีราคาถูกโดยประมาณ 2x,xxx - 3x,xxx บาท
4.GstarCad จาก Suzhou Gstarsoft Co., Ltd  เป็นโปรแกรมเขียนแบบ2มิติและ3มิติจากจีนเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถใกล้เคียงกับ AutoCad แต่มีราคาถูกโดยประมาณ 19,xxx - 35,xxx บาท
5.CadThai จากบริษัท แซด ไบท จำกั เป็นโปรแกรมสัญชาติไทยแท้รองรับการเขียนแบบ2มิติและ3มิติเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถใกล้เคียงกับ AutoCad แต่มีราคาถูกโดยประมาณ 13,xxx บาท
6.QCad โปรแกรมออกแบบ CAD แบบ 2 มิติ สามารถใช้ได้ฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

โปรแกรม SKETCHUP

สวัสดีครับ วันนี้มาแนะนำโปรแกรมสเก็ตช์อัป (SketchUp) ซอฟต์แวร์ในการพัฒนาวัตถุ 3 มิติ ใช้ในงานสถาปัตยกรรม วิศวกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ ออกแบบเกม และงานออกแบบงานอื่นๆโปรแกรมนี้พัฒนาโดยบริษัท @Last Software ปี 2544จากนั้น บริษัทกูเกิล ได้เข้าซื้อซอฟต์แวร์ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2549 และมีการเชื่อมต่อโมเดลของสเก็ตช์อัปให้ใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ กูเกิลเอิร์ธ ปัจจุบันบริษัทTrimble ได้เข้าซื้อต่อจากกูเกิลแล้ว  
ข้อดีของสเก็ตช์อัปคือ การใช้งานที่ง่ายและสะดวกเมื่อเปรียบเทียบกับซอฟต์แวร์ 3 มิติตัวอื่นๆ ปัจจุบัน สเก็ตช์อัป มีอยู่ 2 รุ่น คือ  Sketchup Make สามารถโหลดใช้ได้ฟรี  และรุ่นที่เสียเงินซื้อ คือ Sketchup Pro 2013 โดยรุ่นนี้จะมีคำส่งเพิ่มเติมเช่นสามารถรับส่งข้อมูลเข้้าออกเป็นไฟล์หลากหลายชนิด มีความสามารถเพิ่มจากเวอร์ชั่นฟรีนั่นเองครับ สำหรับผมเองก็มีโอกาสในการใช้งานตั้งแต่เวอร์ชั่น 5 ซึ่งตอนนั้นยังเป็นของ@Last อยู่ ต่อมาเวอร์ชั่น6,7,8 เป็นของ google และเวอร์ชั่น 2013 ที่เป็นของ Trimble ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดในขณะนี้
ตัวอย่างงานออกแบบของผมโดยใช้ SKETCHUP 

เว็บไซต์ http://www.sketchup.com
ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นฟรี http://www.sketchup.com/products/sketchup-make
ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเต็ม http://www.sketchup.com/products/sketchup-pro (สามารถทดลองใช้ได้ 8ชั่วโมงหากหมดเวลาต้องจ่ายเงินซื้อ)
ดาวน์โหลดโมเดลสำเร็จและคอมโพแนนท์ต่างๆ  http://sketchup.google.com/3dwarehouse
ดาวน์โหลดปลั๊กอิน  http://extensions.sketchup.com






โปรแกรม VIS STRUCTURE 4

(1) เป็นโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้าง / ออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กแบบหน่วยแรงใช้งาน / เขียนแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก
     ทำงานบน Windows XP , Windows Vista , Windows 7 และ Windows 8
(2) สามารถออกแบบอาคารต้านแรงโน้มถ่วง / แรงลม / แผ่นดินไหว
     เป็นโปรแกรมที่ใช้ข้อมูลตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
     2.1  กฎกระทรวงฉบับที่ 6 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
     2.2  กฎกระทรวงฉบับที่ 48 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
     2.3  กฎกระทรวง พ.ศ.2550 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
     2.4  มาตรฐานประกอบการออกแบบอาคารเพื่อต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว มยผ. 1301-50 กรมโยธาธิการ
            และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย
     2.5  ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ.2544
     2.6  มาตรฐาน ว.ส.ท. 2534
     2.7  ACI Code
(3) สามารถนำผลคำนวณที่พิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ไปเข้าเล่มเพื่อใช้เป็นรายการคำนวณประกอบแบบก่อสร้าง เพื่อขอ
     อนุญาตปลูกสร้างต่อทางราชการ เช่น กรุงเทพมหานคร , เทศบาล ฯลฯ
(4) มีรูปตัดแสดงรายละเอียดการเสริมเหล็กครบทุกโปรแกรม สามารถนำรูปตัดเหล่านั้นไปตัดแปะทำเป็นตันฉบับสำหรับ
     ถ่ายพิมพ์เขียวได้ ทำให้ไม่ต้องตรวจสอบต้นฉบับกระดาษไขว่าเขียนถูกต้องตามแบบร่างที่วิศวกรส่งให้ช่างเขียนหรือไม่
(5) ประกอบด้วยโปรแกรมดังต่อไปนี้
      5.1   แผ่นพื้นทางเดียว , แผ่นพื้นสองทาง , แผ่นพื้นยื่น , แผ่นพื้นไร้คาน
      5.2   บันไดทั่วๆไป , บันไดชานพักลอย , บันไดเวียน , บันไดยื่น
      5.3   คาน ( รับโมเมนต์บิดและโมเมนต์กระทำที่ Node ได้ )
      5.4   เสาสี่เหลี่ยม รับโมเมนต์สองแกน ( ทั้งเสาสั้นและเสายาว )
      5.5   เสากลมปลอกเหลี่ยม รับโมเมนต์สองแกน ( ทั้งเสาสั้นและเสายาว )
      5.6   เสากลมปลอกเกลียว รับโมเมนต์สองแกน ( ทั้งเสาสั้นและเสายาว )
      5.7   ฐานรากเสาเข็ม รับโมเมนต์สองแกน
      5.8   ฐานรากแผ่สี่เหลี่ยมจัตุรัส รับโมเมนต์สองแกน
      5.9   ฐานรากแผ่สี่เหลี่ยมผืนผ้า รับโมเมนต์สองแกน
      5.10 วิเคราะห์โครงสร้างแบบ 2D-Frame ( แรงโน้มถ่วง , แรงลม , แรงแผ่นดินไหว ) นำผลจากการวิเคราะห์ไป
              ออกแบบ คาน , เสา และฐานราก การออกแบบเสาและฐานรากในข้อ 5.10 นี้ โปรแกรมจะรวมน้ำหนักตาม
              แนวแกนและโมเมนต์ทั้งสองแกนให้เอง
(6) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้แจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ไว้กันกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ถูกต้องตาม
     พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537

ข้อดีของโปรแกรมนี้คือใช้ง่ายไม่ต้องอบรม มีคู่มือมาให้ พัฒนาโปรแกรมโดยคุณวิชา สุธาสิส

(คู่มือนี้แถมมากับโปรแกรมที่ซื้อมาในราคา 20,000 บาท)
(Hardlock Program VisStructure4)
      โปรแกรมนี้ไม่มีเวอร์ชั่นทดลองใช้ ถ้าจะใช้ก็ต้องซื้ออย่างเดียวครับ โดยราคาแบบบุคคลทั่วไปมีราคา 20,000 Baht และสำหรับบริษัทองค์กรณ์ต่างๆ ราคา 40,000 Baht  สำหรับผมเองก็ได้ซื้อรุ่นบุคคลทั่วไปเพื่อไว้ใช้สำหรับงานออกแบบโครงสร้าง สามารถดูข้อมูลอื่นๆได้ที่
เว็บไซต์โปรแกรม http://www.wisawa.com

      บทสัมภาสณ์ของคุณวิชา สุธาสิสhttp://www.thaicontractors.com/content/cmenu/24/28/286.html


     




โปรแกรมไมโครฟีบ Microfeab โมดูลP1




 (คู่มือการใช้แถมมากับโปรแกรม)
 (โปรแกรมอยู่ใน HANDY DRIVE และ HANDY DRIVE เป็นตัวล็อคโปรแกรมในตัวไม่สามารถก็อปปี้ไปใช้ได้ )

      โปรแกรมไมโครฟีบเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างอาคาร สามารถวิเคราะห์ทั้งแบบ TRUSS FRAME ,BEAM ได้ โปรแกรมพัฒนาโดยคนไทยโดย ดร.สมพร ปัจจุบันไมโครฟีบโมดูล P1 มีการอัพเดทเป็นรุ่น R.3.1 และตอนนี้ผมเองก็ได้โปรแกรมนี้มาใช้แบบลิขสิทธฺ์แท้ ซึ่งเป็นรุ่น PROFESIONAL รันได้ 5000 Node 5000 Element ราคาตอนนี้ประมาณ 12,000 บาท รวมค่าจัดส่งแล้วครับ สำหรับโปรแกรมนี้ผมก็จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างต่างๆ เพื่อใช้ในการออกแบบงานทั่วไปที่ไม่มีความซับซ้อนอะไรมาก ว่างๆจะมารีวิวเพิ่มนะครับ...

เกี่ยวกับโปรแกรมเพิ่มเติม http://www.microfeap.com/Contents/about_mfwp1.html
เว็บไซต์โปรแกรม http://www.microfeap.com
ดาวน์โหลด รุ่นนักศึกษาได้ที่  http://www.microfeap.com/Contents/downloadStudent.htm


โปรแกรมออกแบบฐานราก AFES

 
   
   โปรแกรม AFES คือโปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบฐานรากอาคารทุกชนิด เป็นโปรแกรมสายพันธ์เกาหลี โปรแกรมนี้สามารถดึงค่าและข้อมูลต่างๆจากโปรแกรมวิเคราะห์โครงสร้างชั้นนำทั่วไปได้

ดาวน์โหลด
http://www.gsafes.com